ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ของ ประวัติของตารางธาตุ

ในปี ค.ศ. 1869 ดมีตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ และ ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้เสนอตารางธาตุ โดยที่ทั้งสองสังเกตเห็นว่า ถ้าเรียงมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งเมนเดเลเยฟได้ตั้งเป็นกฎพิริออดิก อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นเกียรติแก่เมนเดเลเยฟ จึงได้ตั้งชื่อตารางธาตุของเมนเดเลเยฟว่าตารางพิริออดิกของเมนเดเลเยฟ

ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ

เมนเดเลเยฟได้จัดธาตุเป็น 8 กลุ่ม เช่น กลุ่มที่ 1 มีสูตรทางเคมีว่า R2O เช่น H2O Li2O Na2O กลุ่มที่ 2 มีสูตรทางเคมีว่า RO เช่น BeO MgO CaO SrO เป็นต้น

ตารางพิริออดิกของเมนเดเลเยฟ เป็นการเรียงธาตุตามมวลเชิงอะตอมที่เพิ่มขึ้น แล้วจัดธาตุที่มีสมบัติเคมีที่คล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มในลักษณะเดียวกันกับนิวแลนด์สที่ได้ปฏิบัติล่วงหน้าก่อนเมเดเลเยฟ 4 ปี แต่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับตารางธาตุของเมนเดเลเยฟมากกว่า เพราะ

  • เมนเดเลเยฟ จัดธาตุไว้เป็นหมู่เดียวกันบนพื้นฐานของธาตุที่มีสมบัติเคมีเหมือนกันโดยไม่ได้ผลักดันธาตุให้เข้าไปในกฎเกณฑ์ใดๆตามที่กำหนดไว้
  • เมนเดเลเยฟ ตระหนักดีว่า มีการค้นพบธาตุใหม่เสมอ จึงได้เว้นว่างให้แก่ธาตุที่ยังไม่ได้ค้นพบ
  • เมนเดเลเยฟ ยอมรับมวลอะตอมของธาตุที่ไม่มีใครเห็นด้วยในตารางพิริออดิกของเมนเดเลเยฟ เช่น ธาตุเบริลเลียม อินเดียม เพราะการจัดธาตุเหล่านี้ไว้ผิดหมู่ในตารางดังกล่าว
  • เมนเดเลเยฟ ปรับเปลี่ยนธาตุบางธาตุให้อยู่ในหมู่เดียวกัน แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามการเรียงลำดับมวลอะตอมของธาตุ เช่น นำธาตุเทลลูเรียมมาก่อนไอโอดีน
  • เมนเดเลเยฟ เว้นที่ว่างไว้ในตารางธาตุของเขาสำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบและสามารถทำนายได้อย่างถูกต้อง และได้ตั้งชื่อธาตุโดยใช้คำว่า เอคา นำหน้า เช่น เอคา-อะลูมิเนียม เอคา-ไอโอดีน เอคา-แฟรนเซียม
  • เมนเดเลเยฟ สามารถให้ที่ว่างแก่ธาตุที่ยังไม่ค้นพบได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ตัวอย่างการทำนายธาตุของเมนเดเลเยฟ

เอคา-อะลูมิเนียมทำนายเมื่อปี ค.ศ. 1871

  • มวลอะตอมประมาณ 58
  • ความหนาแน่น 5.9
  • จุดหลอมเหลวต่ำ
  • สูตรออกไซด์ Ea2O3
  • สูตรคลอไรด์ EaCl3

แกลเลียมพบเมื่อปี ค.ศ. 1875

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติการบินไทย ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี